ขงเบ้ง - มังกรซ่อนกาย
ก่อนปีพ.ศ. 823 ประเทศจีนในราชวงศ์ฮั่น แบ่งแผ่นดินออกเป็นสามแคว้น "จ๊กก๊ก" อยู่ทางตะวันตก ปกครองโดย เล่าปี่ มีทหารเอกเด่นรบเก่งคู่ใจอยู่สามคนคือ กวนอู เตียวหุย และจูล่ง มีที่ปรึกษาสำคัญคือ "ขงเบ้ง"
"วุยก๊ก" นำโดย โจโฉ ปกครองแคว้นเหนือ และ "ง่อก๊ก" แคว้นทางใต้ ปกครองโดย ซุนกวน
ขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับ "ขงเบ้ง" หรือคนฮกเกี้ยน เรียกชื่อว่า จูกัดเหลียง ภาษาจีนกลางออกสำเนียงเป็น จูเก๋อเหลียง
ขงเบ้งนั้นเป็นชาวนานักวิชาการ รักชีวิตสันโดษ ชอบธรรมชาติ ยึดมั่นในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แม้ว่าบิดาของขงเบ้งเป็นขุนนาง แต่ก็ไม่ยอมใช้เส้นเข้ารับราชการให้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ได้ชวนน้องชาย จูกัด กิ๋น ไปทำไร่ทำนาใกล้ป่าเขาชื่อ โงลังกั๋ง เมืองหนานหยาง มณฑลชานตุง มีอาชีพเสริมปลูกต้นหม่อนเลี้ยงไหม
เวลาว่างจากการทำงานก็ศึกษาหาความรู้วิชาพยากรณ์อากาศ รู้ลึกซึ้งถึงขั้นมีผู้ขนานนามว่า "ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร" ขงเบ้งอ่านตำราพิชัยสงครามโบราณ จนได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางยุทธศาสตร์ชั้นยอดเยี่ยม มีสมญานามว่า "ฮกหลง" แปลเป็นไทยว่า "มังกรซ่อนกาย"
กิตติศัพท์ความเป็นนักปราชญ์ของขงเบ้งเลื่องลือเข้าหูเล่าปี่ เล่าปี่จึงอยากได้ขงเบ้งมาเป็นคู่คิดที่ปรึกษา เล่าปี่เดินทางไปหาขงเบ้งโดยฝ่าตะลุยหิมะพายุหนาวถึงสามครั้ง จึงได้พบขงเบ้ง แม้ขงเบ้งไม่อยากพบแกล้งนอนหลับตั้งแต่เช้าถึงเย็น เล่าปี่ก็สู้รอด้วยกิริยาสำรวมไม่ถือเอาความสะดวกของตนเป็นใหญ่ให้ลูกน้องของขงเบ้งไปปลุกให้ตื่น ขงเบ้งจึงใจอ่อน เห็นเล่าปี่มีความสุจริตใจในการที่จะรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว ทั้งมาหาด้วยความอ่อนน้อมไม่ถือตัวเบ่งว่าเป็นพระเจ้าอาของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ขงเบ้งจึงยอมทิ้งไร่นาไปช่วยเล่าปี่รบกับโจโฉ
เพียงอายุ 27 ปี ขงเบ้งผู้มีความรู้เรื่องพยากรณ์อากาศและทิศทางลมพัด เข้าบัญชาการรบครั้งแรก เผาทัพหน้าของโจโฉหนึ่งแสนคนด้วยคบเพลิงไม่กี่อัน และไขน้ำท่วมทัพหนุนของโจโฉ พออายุ 28 ปี เป็นทูตใช้วาทศิลป์เจรจากับซุนกวนแห่ง "ง่อก๊ก" มาเป็นพวก รวมยำใหญ่ทัพเรือโจโฉที่ชายทะเลกังตั๋ง เผาทหารเรือของโจโฉตายไปกว่าแปดแสนคน
ขงเบ้งเป็นผู้ที่รอบรู้ในตำราพิชัยสงคราม รู้เรื่องภูมิประเทศทั่วแผ่นดินจีน การพยากรณ์อากาศ และสามารถหยั่งการณ์ในอนาคตได้ คนจีนจึงเข้าใจผิดคิดว่าขงเบ้งมีเวทมนตร์คาถาอาคม เรียก น้ำ ลม ไฟ ได้
หลังจาก กวนอู เตียวหุย เล่าปี่ ตายจากโลกไป ขงเบ้งรับปากกับเล่าปี่ว่า จะรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งให้อยู่ใต้การปกครองของตระกูลเชื้อสายของเล่าปี่ จึงยกกองทัพไปตี "วุยก๊ก" แคว้นทางเหนือของโจโฉ ก่อนที่จะลงใต้ตีง่อก๊กของซุนกวน ในการรบนั้น ขงเบ้งใช้กลอุบายแยบยลเอาชนะข้าศึกเสมอ ดั่งคราที่ สุมาอี้ เสนาบดีของ "วุยก๊ก" ยกทัพใหญ่เข้าประชิดเมือง คราวจวนตัวและคับขันเช่นนี้ ขงเบ้งแก้ปัญหาโดยจัดฉากให้บ้านเมืองดูเป็นปกติ เปิดประตูเมืองไว้ แล้วตนนั่งเล่นพิณในหอคอยบนกำแพงอย่างสบายอารมณ์
สุมาอี้ คิดว่าเป็นกลลวงของขงเบ้งจึงสั่งให้ทัพใหญ่ของตนล่าถอยไม่เข้าโจมตีเมืองของขงเบ้ง ซึ่งถ้าสุมาอี้เข้าโจมตีก็มีโอกาสชนะมากกว่าแพ้เพราะกำลังทหารมีมากกว่าของขงเบ้ง
แล้วอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ขงเบ้งจะสิ้นใจตาย ได้สั่งการว่า อย่าให้สุมาอี้รู้ว่าขงเบ้งตาย ให้ทำรูปปั้นคนถือพัดขนนกยืนอยู่บนรถรบสองล้อเทียมม้าศึก ลวงสุมาอี้ สุมาอี้เห็นรูปปั้นนั้นแต่ไกล คิดว่าเป็นขงเบ้ง จึงตกใจสั่งทัพให้ล่าถอยไป สุมาอี้แม้เป็นผู้มีปัญญาแต่กลัวขงเบ้งครับ
ขงเบ้งนั้นไม่โกงกิน และคอรัปชั่นเชิงนโยบาย กอบโกยเพื่อลูกเมียให้เป็นเศรษฐี สั่งการก่อนตายว่า
"ข้าพเจ้ามีต้นหม่อนเลี้ยงไหมอยู่แปดร้อยต้น นาห้าสิบไร่ พอเลี้ยงลูกเมียข้าพเจ้า ทรัพย์สินนอกนั้นขอยกให้แผ่นดินจีนเลี้ยงดูทหารชั้นผู้น้อย"
"วุยก๊ก" นำโดย โจโฉ ปกครองแคว้นเหนือ และ "ง่อก๊ก" แคว้นทางใต้ ปกครองโดย ซุนกวน
ขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับ "ขงเบ้ง" หรือคนฮกเกี้ยน เรียกชื่อว่า จูกัดเหลียง ภาษาจีนกลางออกสำเนียงเป็น จูเก๋อเหลียง
ขงเบ้งนั้นเป็นชาวนานักวิชาการ รักชีวิตสันโดษ ชอบธรรมชาติ ยึดมั่นในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แม้ว่าบิดาของขงเบ้งเป็นขุนนาง แต่ก็ไม่ยอมใช้เส้นเข้ารับราชการให้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ได้ชวนน้องชาย จูกัด กิ๋น ไปทำไร่ทำนาใกล้ป่าเขาชื่อ โงลังกั๋ง เมืองหนานหยาง มณฑลชานตุง มีอาชีพเสริมปลูกต้นหม่อนเลี้ยงไหม
เวลาว่างจากการทำงานก็ศึกษาหาความรู้วิชาพยากรณ์อากาศ รู้ลึกซึ้งถึงขั้นมีผู้ขนานนามว่า "ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร" ขงเบ้งอ่านตำราพิชัยสงครามโบราณ จนได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในทางยุทธศาสตร์ชั้นยอดเยี่ยม มีสมญานามว่า "ฮกหลง" แปลเป็นไทยว่า "มังกรซ่อนกาย"
กิตติศัพท์ความเป็นนักปราชญ์ของขงเบ้งเลื่องลือเข้าหูเล่าปี่ เล่าปี่จึงอยากได้ขงเบ้งมาเป็นคู่คิดที่ปรึกษา เล่าปี่เดินทางไปหาขงเบ้งโดยฝ่าตะลุยหิมะพายุหนาวถึงสามครั้ง จึงได้พบขงเบ้ง แม้ขงเบ้งไม่อยากพบแกล้งนอนหลับตั้งแต่เช้าถึงเย็น เล่าปี่ก็สู้รอด้วยกิริยาสำรวมไม่ถือเอาความสะดวกของตนเป็นใหญ่ให้ลูกน้องของขงเบ้งไปปลุกให้ตื่น ขงเบ้งจึงใจอ่อน เห็นเล่าปี่มีความสุจริตใจในการที่จะรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว ทั้งมาหาด้วยความอ่อนน้อมไม่ถือตัวเบ่งว่าเป็นพระเจ้าอาของพระเจ้าเหี้ยนเต้ ขงเบ้งจึงยอมทิ้งไร่นาไปช่วยเล่าปี่รบกับโจโฉ
เพียงอายุ 27 ปี ขงเบ้งผู้มีความรู้เรื่องพยากรณ์อากาศและทิศทางลมพัด เข้าบัญชาการรบครั้งแรก เผาทัพหน้าของโจโฉหนึ่งแสนคนด้วยคบเพลิงไม่กี่อัน และไขน้ำท่วมทัพหนุนของโจโฉ พออายุ 28 ปี เป็นทูตใช้วาทศิลป์เจรจากับซุนกวนแห่ง "ง่อก๊ก" มาเป็นพวก รวมยำใหญ่ทัพเรือโจโฉที่ชายทะเลกังตั๋ง เผาทหารเรือของโจโฉตายไปกว่าแปดแสนคน
ขงเบ้งเป็นผู้ที่รอบรู้ในตำราพิชัยสงคราม รู้เรื่องภูมิประเทศทั่วแผ่นดินจีน การพยากรณ์อากาศ และสามารถหยั่งการณ์ในอนาคตได้ คนจีนจึงเข้าใจผิดคิดว่าขงเบ้งมีเวทมนตร์คาถาอาคม เรียก น้ำ ลม ไฟ ได้
หลังจาก กวนอู เตียวหุย เล่าปี่ ตายจากโลกไป ขงเบ้งรับปากกับเล่าปี่ว่า จะรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งให้อยู่ใต้การปกครองของตระกูลเชื้อสายของเล่าปี่ จึงยกกองทัพไปตี "วุยก๊ก" แคว้นทางเหนือของโจโฉ ก่อนที่จะลงใต้ตีง่อก๊กของซุนกวน ในการรบนั้น ขงเบ้งใช้กลอุบายแยบยลเอาชนะข้าศึกเสมอ ดั่งคราที่ สุมาอี้ เสนาบดีของ "วุยก๊ก" ยกทัพใหญ่เข้าประชิดเมือง คราวจวนตัวและคับขันเช่นนี้ ขงเบ้งแก้ปัญหาโดยจัดฉากให้บ้านเมืองดูเป็นปกติ เปิดประตูเมืองไว้ แล้วตนนั่งเล่นพิณในหอคอยบนกำแพงอย่างสบายอารมณ์
สุมาอี้ คิดว่าเป็นกลลวงของขงเบ้งจึงสั่งให้ทัพใหญ่ของตนล่าถอยไม่เข้าโจมตีเมืองของขงเบ้ง ซึ่งถ้าสุมาอี้เข้าโจมตีก็มีโอกาสชนะมากกว่าแพ้เพราะกำลังทหารมีมากกว่าของขงเบ้ง
แล้วอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ขงเบ้งจะสิ้นใจตาย ได้สั่งการว่า อย่าให้สุมาอี้รู้ว่าขงเบ้งตาย ให้ทำรูปปั้นคนถือพัดขนนกยืนอยู่บนรถรบสองล้อเทียมม้าศึก ลวงสุมาอี้ สุมาอี้เห็นรูปปั้นนั้นแต่ไกล คิดว่าเป็นขงเบ้ง จึงตกใจสั่งทัพให้ล่าถอยไป สุมาอี้แม้เป็นผู้มีปัญญาแต่กลัวขงเบ้งครับ
ขงเบ้งนั้นไม่โกงกิน และคอรัปชั่นเชิงนโยบาย กอบโกยเพื่อลูกเมียให้เป็นเศรษฐี สั่งการก่อนตายว่า
"ข้าพเจ้ามีต้นหม่อนเลี้ยงไหมอยู่แปดร้อยต้น นาห้าสิบไร่ พอเลี้ยงลูกเมียข้าพเจ้า ทรัพย์สินนอกนั้นขอยกให้แผ่นดินจีนเลี้ยงดูทหารชั้นผู้น้อย"
2 Comments:
At 5:57 PM,
Unknown said…
เว็บไซต์สำหรับแลกเปลี่ยน และ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสามก๊ก
http://www.sanguo-chronicle.com
At 6:29 AM,
Unknown said…
"ขงเบ้ง" อ่ะ ตอน ม.1 เราต้องอ่านสามก๊ก เล่มหนามากถึง 3 เล่ม ..อิอิอิ ขอบอก อ่านหลายรอบมากมาย มันเยอะ อ่านแล้วอ่านอีก เพิ่งมารู้ว่า "มีประโยชน์" ในภายภาคหน้า เพราะจะเข้าใจ บรรพชน เท่ามด 😄😄😄
Post a Comment
<< Home