Thai People

นำเสนอสาระ เรื่องราว ทั้งไทยและเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนาสติปัญญา

Tuesday, March 29, 2005

ภาษาอังกฤษผิดประจำ 2 - Compare with หรือ Compare to

อาจจะมีความสับสนเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ compare with และ compare to

ในเชิงตรรกแล้ว compare with ดูเหมือนจะเหมาะสมกับการนำมาใช้ในการเปรีบยเทียบความเหมือน (comparison of likes) หรือสี่งที่เรารู้ว่ามันคล้ายๆกัน อยู่ในกลุ่มเดียวกันอยู่แล้ว โดยมีนัยว่าอย่างหนึ่งเหนือว่าอีกอย่าง

ส่วน compare to นั้นมักใช้สำหรับเปรียบเทียบสิ่งที่ค่อนข้างห่างกัน (remote) หรืออยู่คนละประเภทกันว่ามีลักษณะคล้ายๆกัน เช่น

"Can TaTa Young be compared with Briney Spears?" (That is to say, Britney is much better.)
"A bicycle cannot compare with a motorbike." (A motorbike is much better.)
"Instant coffee just doesn't compare with freshly ground coffee." (The second thing is very much better.)

"The poet compares his lover's tongue to a razor blade." (equal quality)
"Still only twenty-five, she has been compared to the greatest dancer of all time."

(ประโยคตัวอย่างส่วนหนึ่งนำมาจาก Cambridge Advanced Learner's Dictionary)

ภาษาอังกฤษผิดประจำ 1- All right หรือ Alright ?

หลังอาหารวันนี้ขอเสนอเรื่อง Common Mistakes ที่พบได้บ่อยๆ โดยจะนำมาเสนอเป็นตอนๆไปแล้วแต่เวลาจะอำนวย ตอนแรกนี้คือ All right หรือ Alright?

คำว่า already, almost, almighty, และ altogether นั้นเป็นการเขียนที่ถูกต้อง
แต่ alright นั้นเป็นคำที่"ผิด" อาจจะไม่ยุติธรรมนักว่าทำไมจึงผิด เพราะไม่มีเหตุผลอธิบาย แต่ถ้าหากเราต้องการเขียนภาษาอังกฤษให้ถูกต้องนั้น จะต้องใช้คำ "all right"

ใน The Compact Oxford Dictionary ก็ไม่มีคำว่า alright อยู่
ใน Cambridge Advance Learner's Dictionary มีคำว่า alright แต่ไม่ได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติม
ส่วนใน Longman Dictionary of Contemporary English นั้นกล่าวว่าเป็นการสะกดอีกอย่างหนึ่งของ all right แต่ต่อท้ายว่า that many people think incorrect

Saturday, March 26, 2005

ปรัชญาเมิ่งจื่อ (2)

อันคำกล่าวว่ามนุษย์เรามีจิตใจที่ไม่อาจหักใจทำร้ายผู้อื่นนั้น เสมือนหนึ่งการได้พบเห็นเด็กทารกตกลงสู่บ่อน้ำแห่งหนึ่ง คนผู้นั้นย่อมจะตกตื่นใจด้วยเห็นใจห่วงใย มิได้คิดฉกฉวยโอกาสหยิบยื่นน้ำใจไมตรีต่อบิดามารดาของเด็กน้อย ทั้งมิได้คิดจะสร้างชื่อในหมู่ชนรอบข้าง อีกทั้งมิได้เป็นเพราะรำคาญใจต่อเสียงร้องไห้ของเด็ก เช่นนี้แล้ว หากไม่มีความเอื้ออาทร ไม่ใช่มนุษย์ ไร้ความละอาย ไม่ใช่มนุษย์ ไม่ยอมอภัย ไม่ใช่มนุษย์ ไม่รู้สำนึกผิดชอบชั่วดี ไม่ใช่มนุษย์ ความเอื้ออาทรเป็นจุดเริ่มแห่งเมตตาธรรม ความละอายเป็นจุดเริ่มแห่งคุณธรรม การให้อภัยเป็นจุดเริ่มแห่งจรรยามารยาท และความสำนึกผิดชอบชั่วดีเป็นจุดเริ่มต้นแห่งปัญญา

ตำราพิชัยสงครามซุนวู - บทที่ ๒ เตรียมศึก


บทที่ ๒ เตรียมศึก

๑. SUNTZU กล่าวไว้

กฎของสงครามนั้น การทหารเป็นความสิ้นเปลืองอย่างใหญ่หลวง กว่าจะสามารถใช้กำลังเคลื่อนกำลังทหารได้นั้น แม้เพียงวันเดียวก็ยังต้องใช้ทรัพย์สินมหาศาลการทำสงครามยืดเยื้อทหารจะอ่อนล้า ความห้าวหาญจะลดลง การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นข้าศึกเป็นเวลานานกำลังรบจะหมดไป เพราะฉะนั้น การใช้กำลังทหารเป็นเวลานานเศรษฐกิจของชาติจะย่อยยับ

ถ้าทหารหาญของชาติเหนื่อยอ่อน ขาดความห้าวหาญ และถ้าเศรษฐกิจของชาติย่อยยับแล้วต่างชาติจะยกทัพมารบกับเราแน่นอน ซึ่งแม้จะมีผู้มีความสามารถสูงเพียงไรก็ยากที่จะต่อต้านกับทัพต่างชาติที่ยกเข้ามาได้ดังนั้น "การสงครามจะต้องรวดเร็ว และเฉียบพลัน" ตัวอย่างดีของสงครามยืดเยื้อในประวัติศาสตร์ไม่มีประเทศใดเคยได้ประโยชน์จากสงครามยืดเยื้อไม่เคยปรากฏ ...................... ดั่งที่เคยกล่าวแล้ว

ผู้ที่ไม่เข้าใจความสูญเสียของสงครามอย่างเพียงพอ
ย่อมไม่สามารถเข้าใจผลประโยชน์ที่ได้รับจากสงครามอย่างเพียงพอเช่นกัน


๒. นักรบที่ชำนาญศึกจะไม่เกณฑ์ประชาชนมารบหลายครั้ง จะไม่ขนเสบียงอาหารจากชาติตนหลายครั้ง แม้ใช้อาวุธจากชาติตน แต่เสบียงอาหารเอาจากดินแดนข้าศึก

การที่ประเทศชาติต้องยากจนลงเพราะกองทัพก็เนื่องจากการขนส่งเสบียงอาหารเป็นระยะทางไกล เพราะถ้ากองทัพต้องขนเสบียงอาหารเป็นระยะทางไกล ประชาชนจะยากจนลง ราคาสินค้าบริเวณสนามรบจะสูงขึ้น เมื่อสินค้าราคาสูงขึ้น ทรัพย์สินของประชาชาก็ยิ่งหมดลง เมื่อทรัพย์สินของประชาชนหมดลง การจะระดมเสบียงอาหารมาให้ทหาร ก็จะทำได้ยากลำบาก กำลังรบของกองทัพก็จะค่อยๆ หมดลง ทรัพย์สินของประชาชนจาก ๑๐ จะเหลือ ๗ ข้าวของของรัฐที่เสียหายไปกับสงครามจาก ๑๐จะเหลือ ๖ เพราะฉะนั้น แม่ทัพที่มีความสามารถจะแย่งเสบียงอาหาร และข้าวของของข้าศึกมาใช้การใช้ข้าวของของข้าศึก ๑ ส่วน ได้ประโยชน์เหมือนใช้ของของเรา ๒๐ ส่วน

๓. การที่ทหารฝ่ายเราสังหารทหารฝ่ายข้าศึกได้ก็เนื่องจากกำลังใจของทหาร การยึดเอาสิ่งของของข้าศึกมา ก็เนื่องจากผลประโยชน์นั่นเองฉะนั้น การให้รางวัลแก่ทหารที่ยึดเอาสิ่งของจากข้าศึกได้ และลงโทษทหารที่ถูกข้าศึกยึดสิ่งของไป เป็นการสร้างความเข้มแข็งขึ้นในกองทัพ

๔. ดังกล่าวข้างต้น

การสงครามนั้นชัยชนะเป็นอันดับหนึ่ง จะยืดเยื้อไม่ได้ แม่ทัพที่ระมัดระวังผลได้เสียของสงครามรอบคอบ คือผู้กำชะตากรรมของประชาชนไว้ เป็นอุปราชชี้ขาดความอยู่รอดของประเทศชาติ ........................

Chapter Two: Doing Battle

Sun-tzu said:

Generally, the requirements of warfare are this way:
One thousand quick four-horse chariots,

one thousand leather rideable chariots,

one hundred thousand belted armor,

transporting provisions one thousand li,

the distribution of internal and on the field spending,

the efforts of having guests, materials such as glue and lacquer,

tributes in chariots and armor,

will amount to expenses of a thousand gold pieces a day. ?

Only then can one hundred thousand troops be raised. ?

When doing battle, seek a quick victory.

A protracted battle will blunt weapons and dampen ardor. ?

If troops lay siege to a walled city, their strength will be exhausted. ?

If the army is exposed to a prolonged campaign, the nation's resources will not suffice. ?

When weapons are blunted, and ardor dampened, strength exhausted, and resources depleted, the neighboring rulers will take advantage of these complications. ?

Then even the wisest of counsels would not be able to avert the consequences that must ensue. ?

Therefore, I have heard of military campaigns that were clumsy but swift, but I have never seen military campaigns that were skilled but protracted.

No nation has ever benefited from protracted warfare. ?

Therefore, if one is not fully cognizant of the dangers inherent in doing battle, one cannot fully know the benefits of doing battle. ?

Those skilled in doing battle do not raise troops twice, or transport provisions three times. ?

Take equipment from home but take provisions from the enemy.

Then the army will be sufficient in both equipment and provisions. ?

A nation can be impoverished by the army when it has to supply the army at great distances.

When provisions are transported at a great distances, the citizens will be impoverished. ?

Those in proximity to the army will sell goods at high prices.

When goods are expensive, the citizens' wealth will be exhausted.

When their wealth is exhausted, the peasantry will be afflicted with increased taxes. ?

When all strength has been exhausted and resources depleted, all houses in the central plains utterly impoverished, seven-tenths of the citizens' wealth dissipated,

the government's expenses from damaged chariots, worn-out horses, armor, helmets, arrows and crossbows, halberds and shields, draft oxen, and heavy supply wagons,

will be six-tenths of its reserves. ?

Therefore, a wise general will strive to feed off the enemy.

One bushel of the enemy's provisions is worth twenty of our own, one picul of fodder is worth twenty of our own. ?

Killing the enemy is a matter of arousing anger in men;

taking the enemy's wealth is a matter of reward.

Therefore, in chariot battles, reward the first to capture at least ten chariots. ?

Replace the enemy's flags and standards with our own.

Mix the captured chariots with our own, treat the captured soldiers well.

This is called defeating the enemy and increasing our strength. ?

Therefore, the important thing in doing battle is victory, not protracted warfare. ?

Therefore, a general who understands warfare is the guardian of people's lives, and the ruler of the nation's security. ?

Guan Yin - Magestic

Friday, March 25, 2005

ปรัชญาขงจื๊อ


เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม

ไม่ต้องเป็นหว่งคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นหว่างว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น

การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น

การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว

บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม

บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม

ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน

ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา

บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล

ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย

จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล

ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ

สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า

บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา

อ่อนน้อมแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นเรื่องเหนื่อยเปล่า ระมัดระวังแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นความขลาดกลัว

กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัยแก่คนอื่น

ยังปรนนิบัตติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า

บัณฑิตมีความสามัคคีต่อกัน แต่ความคิดกับการกระทำไม่เหมือนกัน คนพาลมีความคิดกับการกระทำเหมือนกัน แต่ไม่มีความสามัคคี

ปรนนิบัติบัณฑิตเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้บัณฑิตรักเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะว่าถ้าไม่ชอบด้วยลักษณะธรรมบัณฑิตก็ไม่รัก

ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้

ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้อง ตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน

เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขาจะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ

บัณฑิตย่อมมีความอับอายที่พูดไปแล้วนั้น เกินกว่าที่ทำไป

ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย

ผู้ที่ไม่มีการไตร่ตรองให้ยาว ในอนาคตไกลจะต้องมีภัยที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน

Tuesday, March 22, 2005

เรื่องทองแดง (The Story of Tongdaeng)


เรื่องราวของ "คุณทองแดง" ได้เคยถูกถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือจากพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และติดอันดับหนังสือขายดีที่สุดของประเทศเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ นั้น บัดนี้ เรื่องราวของคุณทองแดง สุนัขธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ได้รับการถ่ายทอดอีกครั้งหนึ่งในรูปแบบภาพการ์ตูน สีสันสดใส

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) จัดพิมพ์หนังสือ "เรื่องทองแดง" หรือ The Story of Tongdaeng อีกครั้งในรูปแบบของหนังสือภาพ ๒ ภาษา เพื่อถ่าย ทอดเรื่องราวของ "คุณทองแดง" ที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อ "แม่มะลิ" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องว่า "ผิดกับคนอื่นที่เมื่อกลายมาเป็นคนสำคัญแล้ว มักจะลืมตัว และดูหมิ่นผู้มีพระคุณซึ่งเป็นคนต่ำต้อย" โดยแก่นของเรื่องยังทรงเน้นความจงรักภักดี ความกตัญญูรู้คุณ ความมีมารยาท และการสั่งสอนลูกผ่านทางตัวละครเอกอย่าง "ทองแดง" อันเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และสังคม

ในพระราชนิพนธ์ดังกล่าวมีบทพระราชปรารภตอนหนึ่งว่า "ทองแดงเป็นสุนัขธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันนับว่ากว้างขวาง มีผู้เขียนเรื่องทองแดงก็หลายเรื่อง แต่น่าเสียดายว่าเรื่องที่เล่ามักมีความคลาดเคลื่อนจากความจริง และขาดข้อมูลสำคัญบางประการ..."

โดยพระราชนิพนธ์ทองแดงฉบับการ์ตูนนี้ ทรงเล่าเรื่องราวตั้งแต่ประวัติความเป็นมาของ "แม่แดง" ซึ่งเป็นแม่ของทองแดง พี่น้องของทองแดง เหตุการณ์วันที่ทองแดงได้เข้าเฝ้าฯ ถวายตัว ลักษณะพิเศษของทองแดง อุปนิสัยใจคอและความฉลาดของทองแดง ซึ่งยากที่จะมีสุนัขตัวใดเสมอเหมือน นอกจากเรื่องราวของทองแดง ยังมีเรื่องของสุนัขตัวอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทองแดงอีกด้วย เช่น แม่มะลิ ทองแดง ทองแท้ และทองหลาง เป็นต้น

อนึ่ง พระราชนิพนธ์ในเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษควบคู่ไปด้วย เป็นพระราชนิพนธ์สองภาษาเช่นเดียวกับพระราชนิพนธ์เรื่อง "พระมหาชนก" และ "ทองแดง" สำหรับพระราชนิพนธ์ "เรื่องทองแดง" ฉบับการ์ตูน จัดพิมพ์ เป็นหนังสือปกอ่อน หนา ๑๗๒ หน้า พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตมันอย่างดี ภาพประกอบสี่สีตลอดเล่ม ราคาเล่มละ ๑๔๙ บาท วางจำหน่ายที่ร้านนายอินทร์ ทุกสาขา ร้านโกลเด้น เพลส และร้านหนังสือทั่วประเทศ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด โทร.๐-๒๘๘๒-๒๐๐๐

Saturday, March 19, 2005

ตำราพิชัยสงครามซุนวู - บทที่ 1 แผนศึก



บทที่ ๑ แผนศึก

๑. SUNTZU กล่าวไว้

การสงครามเป็นงานยิ่งใหญ่ มีความสำคัญต่อชาติใหญ่หลวง ชี้ขาดความเป็นตายคนในชาติเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของชาติ จึงต้องคิดอ่านพิจารณาด้วยความรอบคอบอย่างถึงที่สุดฉะนั้นจะต้องคิดคำนึงถึงเรื่องสำคัญ ๕ ประการ และพิจารณาเปรียบเทียบ ๗ ประการ เพื่อเข้าใจสถานการณ์ได้ถ่องแท้ ........ ๕ ประการดังกล่าว ได้แก่ :-

- หนทาง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนแต่ละชั้นว่าสามารถอยู่ร่วมกัน ตายร่วมกันได้เพียงใด ( การเมืองภายใน )
- สภาพแวดล้อม เงื่อนไขเอื้ออำนวยของจังหวะเวลา และภูมิอากาศ
- สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
- แม่ทัพนายกอง ลักษณะคน
- กฎ ระเบียบ วินัย

ปกติการคิดคำนึง และศึกษาเรื่องราว ๕ ประการ แม่ทัพนายกองทุกคนเข้าใจดีอยู่แล้ว

แต่ผู้เข้าใจลึกซึ้งกว่าเป็นผู้ชนะ ผู้เข้าใจลึกซึ้งน้อยกว่าเป็นผู้ไม่อาจชนะ

ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งกว่าจำเป็นต้องมีการพิจารณาเปรียบเทียบอีก ๗ ประการ ดังนี้ :-

- ผู้นำประเทศฝ่ายใดกำจิตใจคนในชาติมากกว่ากัน
- แม่ทัพนายกองฝ่ายใดมีความสามารถมากกว่ากัน
- เงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ฝ่ายใดได้เปรียบ
- ฝ่ายใดรักษากฎ ระเบียบ วินัย เคร่งครัด กว่ากัน
- กองทัพฝ่ายใดเข้มแข็งกว่ากัน
- ทหารหาญฝ่ายใดได้รับการฝึกมามากกว่ากัน
- การให้รางวัล และการลงโทษ ฝ่ายใดมีความยุติธรรมกว่ากัน

สำหรับ SUNTZU แล้ว จากที่กล่าวมา แม้ยังมิได้รบก็รู้แพ้ชนะกระจ่างแจ้งแล้ว

๒. ในกรณีแม่ทัพนายกองปฏิบัติตามการคิดคำนวณ ๕ ประการ และเปรียบเทียบ ๗ ประการของข้าพเจ้า ถ้าเอาคนนี้มาใช้งานจะได้รับชัยชนะแน่นอน ต้องเอาคนคนนี้มาใช้งาน

ในกรณีแม่ทัพนายกองมิได้ปฏิบัติตามการคิดคำนวณ ๕ ประการ และเปรียบเทียบ ๗ ประการของข้าพเจ้า ถ้าเอาคนนี้มาใช้งานจะประสบความพ่ายแพ้แน่นอน ต้องปลดคนคนนี้ทิ้งเสีย

ถ้าปฏิบัติตาม และเข้าใจความคิดอ่านนี้ การเตรียมการก่อนออกศึกจะเกิด "พลังอำนาจ" ซึ่งจะช่วยกองทัพในการศึก พลังอำนาจที่กล่าวช่วยให้ฝ่ายเราสามารถใช้ความอ่อนตัวบังคับสถานการณ์ได้เปรียบให้ตกอยู่กับฝ่ายเรานั่นเอง ( พลังอำนาจ ...... ศักย์สงคราม )

๓. การศึกนั้นเป็นการเคลื่อนไหวด้วยเล่ห์เหลี่ยม หมายถึงการกระทำที่กลับกันกับการกระทำปกติ ฉะนั้น เมื่อเข้มแข็งต้องให้เห็นว่าอ่อนแอ เมื่อกล้าต้องให้เห็นว่ากลัว เมื่อใกล้ให้ดูไกล เมื่อไกลให้ดูใกล้ เมื่อข้าศึกต้องการประโยชน์เอาประโยชน์เข้าล่อ เมื่อข้าศึกวุ่นวายสับสนให้ฉวยโอกาสข้าศึกเหนียวแน่นให้ป้องกัน ข้าศึกเข้มแข็งให้ถอยออกมา เมื่อข้าศึกโกรธให้ยั่วยุ ข้าศึกสบายทำให้พวกเขาเหนื่อยล้า เมื่อข้าศึกกลมเกลียวทำให้แตกแยก โจมตีข้าศึกในที่ซึ่งไม่มีการป้องกัน รุกเข้าไปในที่ซึ่งข้าศึกไม่คาดคิด เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ข้าศึก ก่อนรบไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ว่าจะเผชิญหน้ากับสถานการณ์เช่นไร ......

๔. ปกติการคิดอ่านก่อนออกศึกแล้วชนะ หมายถึงผลจากการคิดคำนวณ ๕ ประการเปรียบเทียบ๗ ประการ แล้วมีทางชนะมากกว่าทางแพ้นั่นเอง แต่หากคิดอ่านก่อนออกศึกแล้วไม่อาจชนะก็หมายถึงผลจากการคิดคำนวณ ๕ ประการเปรียบเทียบ ๗ ประการแล้วมีทางชนะน้อยนั่นเอง ดังนั้น จากการคิดคำนวณก่อนออกศึก ถ้ามีทางชนะมากจะชนะ ถ้ามีทางชนะน้อยกว่าก็จะมิอาจชนะ สำหรับข้าพเจ้า เพียงสังเกตดังกล่าว ก็รู้แพ้ชนะชัดเจนแล้ว


Chapter One: Calculations
Sun-tzu said:
Warfare is a great matter to a nation;
it is the ground of death and of life;
it is the way of survival and of destruction, and must be examined.

Therefore, go through it by means of five factors;
compare them by means of calculation, and determine their statuses:
One, Way, two, Heaven, three, Ground, four, General, five, Law.
The Way is what causes the people to have the same thinking as their superiors;
they may be given death, or they may be given life, but there is no fear of danger and betrayal.
Heaven is dark and light, cold and hot, and the seasonal constraints.
Ground is high and low, far and near, obstructed and easy, wide and narrow, and dangerous and safe.
General is wisdom, credibility, benevolence, courage, and discipline.
Law is organization, the chain of command, logistics, and the control of expenses.
All these five no general has not heard;
one who knows them is victorious, one who does not know them is not victorious.
Therefore, compare them by means of calculation, and determine their statuses.
Ask:
Which ruler has the Way,
which general has the ability,
which has gained Heaven and Ground,
which carried out Law and commands,
which army is strong,
which officers and soldiers are trained,
which reward and punish clearly,
by means of these, I know victory and defeat!
A general who listens to my calculations, and uses them, will surely be victorious, keep him;
a general who does not listen to my calculations, and does not use them, will surely be defeated, remove him. Calculate advantages by means of what was heard, then create force in order to assist outside missions.
Force is the control of the balance of power, in accordance with advantages.
Warfare is the Way of deception.

Therefore, if able, appear unable,
if active, appear not active,
if near, appear far,
if far, appear near.
If they have advantage, entice them;
if they are confused, take them,
if they are substantial, prepare for them,
if they are strong, avoid them,
if they are angry, disturb them,
if they are humble, make them haughty,
if they are relaxed, toil them,
if they are united, separate them.
Attack where they are not prepared, go out to where they do not expect.
This specialized warfare leads to victory, and may not be transmitted beforehand.
Before doing battle, in the temple one calculates and will win, because many calculations were made;
before doing battle, in the temple one calculates and will not win, because few calculations were made;
many calculations, victory, few calculations, no victory, then how much less so when no calculations?
By means of these, I can observe them, beholding victory or defeat!

Thursday, March 17, 2005

สำนวนเด่นจาก"สามก๊ก"


ภรรยาเหมือนเสื้อผ้า
ขาดหรือหายไปก็หาไหม่ได้
พี่น้องเหมือนแขนซ้ายขวา
ขาดแล้วยากที่จะต่อได้
(ตอนที่12:เตียวหุยหนีลิโป้ไปหาเล่าปี่แล้วคิดฆ่าตัวตาย)

อันคำโบราณกล่าวไว้ว่า
ผู้จะตั้งตัวเป็นใหญ่
ถึงจะมีบ้านเมืองได้ก็เอาแต่ชัยชนะเท่านั้น
ผู้ใดเป็นเสี้ยหนามก็ทำอันตรายผู้นั้น
มิได้ทำอันตรายแก่บุตรภรรยาและราษฎรทั้งปวง
(ตอนที่17:บิต๊กกล่าวแก่ลิโป้ ตอนที่ลิโป้ตีเมืองเสียวพ่ายของเล่าปี่แตก)


อันธรรมดาการศึกนั้น
ถ้าจะว่าสิ่งใดกับแม่ทัพนายกอง
จงประมาณการให้แน่นอนก่อนจึงว่า
(ตอนที่23:เตียวเลี้ยวทัดทานกวนอูดูฝีมืองันเหลียงก่อนออกรบ)

ซึ่งจะเอาความคิดแลปัญญาข้าพเจ้าไปเปรียบนั้นไกลนัก
ตัวข้าพเจ้าอุปมาเหมือนหนึ่งกาจะมาเปรียบพญาหงส์นั้นไม่ควร
อนึ่งม้าอาชามีกำลังน้อย หรือจะมาเปรียบพญาราชสีห์ได้
อันคนนี้มีปัญญาลึกซึ้งกว้างขวางนัก
อาจสามารถที่จะหยั่งรู้การในแผ่นดินแลอากาศเป็นเอกอยู่แต่ผู้เดียว
ซึ่งจะหาผู้ใดเปรียบเสมอสองนั้นมิได้
(ตอนที่ 33:ชีซีกล่าวแนะนำขงเบ้งแก่เล่าปี่)


อันธรรมดาว่าสงคราม
จะหมายเอาชนะฝ่ายเดียวไม่ได้
ย่อมแพ้บ้างชนะบ้าง
(ตอนที่33:โจโฉว่าแก่โจหยินตอนถูกชีซีตีแตก)

แลเล่าปี่ปลงธุระไว้ให้แก่เราให้รักษาบุตร๓รรยา
มาให้เสียหายในท่ามกลางกองทัพฉะนี้ดูมิควรนัก
จำจะอุตสาห์ตีฝ่าเข้าไปหาครอบครัวเล่าปี่ให้จงได้
ถึงมาตรว่าจะตายในท่ามกลางสงครามก็ตามเถิด
แม้มืได้ครอบครัวเล่าปี่ จะเอาหน้าไปไว้แห่งใด
(ตอนที่37:จูล่งควานหาอาเต๊ากับภรรยาเล่าปี่ตอนทัพโจโฉไล่ตีทัพเล่าปี่)

อันคำโบราณกล่าวไว้ว่า
ธรรมดาเกิดมาเป็นชาย
แม้จะแสวงหาเจ้านายซึ่งจะเป็นที่พึ่งนั้น
ก็ให้พิเคราะห์ดูน้ำใจเจ้านายซึ่งโอบอ้อมอารีเป็นสัตย์เป็นธรรม
จึงให้เข้าอยู่ด้วย
แล้วให้ตั้งใจทำราชการโดยสัตย์ซื่อสุจริต
ให้เห็นฝีมือเป็นบำเหน็จไว้จึงจะได้ความสุขสืบไป
ประการหนึ่งให้มีน้ำใจทำไมตรีแก่ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเก่าแก่ไว้อย่าให้ขาด
แม้มาตรว่าจะมีภัยสิ่งใดมาถึงตัว
ก็จะเผอิญให้มีผู้ช่วยแก้ไขพ้นจากอันตรายได้
ถ้าจะคิดการใดเล่าก็จะสำเร็จ
(ตอนที่40:จิวยี่ว่าแก่เจียวก้าน)


อันธรรมดาผู้เป็นน่ยทัพนายกองจะทำการสงคราม
ถ้าแพ้ก็อย่าเพ่อเสียใจ แม้ได้ชัยชนะก็อย่าเพิ่งทะนง
(ตอนที่45:เตียวเลี้ยวเตือนสติแก่นายทหารทั้งปวง)

เกิดมาเป็นชายถึงจะตายในท่ามกลางศึกก็อย่าเสียดายชีวิต
ชอบจะคิดการให้ถึงขนาด
(ตอนที่45:ไทสูจู้กล่าวแก่เตียวเจียวก่อนตาย)

อันธรรมดาเกิดเป็นชาย
เมื่อปราถนาจะเป็นใหญ่
แม้ได้ทีที่ไหนก็จะทำการที่นั่น
อันจะคิดรั้งรออยู่กลัวแต่ความนินทาฉะนี้
นานไปเมื่อหน้าเป็นของคนอื่นแล้ว
จะคิดทำการต่อภายหลังก็จะมิได้ความเดือดร้อนเสียใจอยู่หรือ
(ตอนที่ 49: เตียวสงให้เล่าปี่ไปเอาเมืองเสฉวน)


อันธรรมดานกจะทำรัง
ก็ย่อมแสวงหาซึ่งพุ่มไม้ชัฎ
จะได้ทำรังอยู่เป็นสุข
ถึงลมพายุใหญ่จะพัดหนักมา
ก็มิได้เป็นอันตราย
ผู้เป็นลูกน้องจะหานาย
ให้พิเคราะห์ดูผู้มีน้ำใจโอบอ้อมอารี
มีสติปัญญานำพาไปได้รอดไม่วอดวาย
(ตอนที่52: ลิอิ๋นขอเข้าทำการอยู่ด้วยเล่าปี่)


ด้วยคำโบราณกล่าวไว้ว่า
ฝ่ายทหารผู้จะเป็นแม่ทัพแม่กอง
แม้จะยกไปทำสงครามแห่งใด ตำบลใด
ให้บำรุงทแกล้วทหารแลเครื่องศัตราวุธให้พร้อมเป็นสง่าแล้ว
จึงจะยกไปเป็นธรรมดา
ฝ่ายพลเรือนเล่าก็ให้ให้มีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่อาณาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุข
แล้วทำนุบำรุงบ้านเมืองไว้ให้เป็นสง่า
แลเนื้อความสองประการนี้ผู้ใดทำได้
จึงจะคิดอ่านตั้งตัวเป็นใหญ่ได้
(ตอนที่53:โปหั้นกล่าวทัดทานโจโฉมิให้ตีกังตั๋ง)

Wednesday, March 16, 2005

ปรัชญาเมิ่งจื่อ



ผู้ปกครองด้วยหลักเมตตาธรรมย่อมไร้ซึ่งศัตรูแผ่นดิน

หยิบฉวยได้ แต่ไม่หยิบฉวย หากหยิบฉวยย่อมเป็นที่เสื่อมเสีย
สามารถให้ สามารถไม่ให้ หากการให้ไม่เอื้อประโยชน์
สามารถตาย สามารถไม่ตาย หากตายแล้วทำลายชื่อเสียงความห้าวหาญ

ยามปรกติผู้คนสะสมทรัพย์เสบียง แม้เมื่อประสบภัยแล้งไม่อดตาย
ผู้ที่สั่งสมจริยธรรมอันดีเป็นกิจวัตร แม้บ้านเมืองกลียุคย่อมไม่หลงผิด

หากประชาขาดไร้ปณิธานตั้งมั่น ปล่อยความชั่วร้ายเข้าครอบงำ ยอมทำทุกสิ่งเพื่อประโยชน์แห่งตน ต่อเมื่อพลัดหลงทำผิดอาญาอันใหญ่หลวงแล้ว จึงคิดหาวิธีการลงโทษทัณฑ์ต่อพวกเขา เช่นนี้ไม่ต่างจากการขุดหลุมพรางดักล่อประชาชน ผู้ปกครองที่หวังดีต่อประชาชนอย่างแท้จริง ไหนเลยกระทำเช่นนี้?

ดังนั้น ผู้ปกครองที่มีปัญญาความสามารถย่อมวางระเบียบกฎเกณฑ์ให้ประชาชนสามารถประกอบสัมมาอาชีวะได้ เพียงพอต่อการเลี้ยงดูบุตรภรรยา บุพการีทั้งครอบครัว เมื่อมีพืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ได้มีกินอิ่มท้อง แม้เมื่อถึงคราวยาก ก็ไม่ถึงกับต้องอดตาย เพียงตรวจตราดูแลให้พวกเขาอยู่บนวิถีอันดีงาม อย่างนั้นประชาราษฎร์ย่อมคล้อยตามโดยง่ายแล้ว

สภาพดินฟ้าอากาศที่ได้เปรียบมิสู้มีชัยภูมิที่มั่นคง
ชัยภูมิที่เป็นเลิศยังมิอาจเทียบได้กับความมีน้ำหนึ่งใจเดียวของผู้คน

เมื่อมีคำยกยอปอปั้นที่ไม่คาดหมาย
ย่อมมีคำใส่ร้ายป้ายสีที่เกินจริง

Tuesday, March 15, 2005

ทักทาย แนะนำ-ติชม