Thai People

นำเสนอสาระ เรื่องราว ทั้งไทยและเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนาสติปัญญา

Wednesday, August 03, 2005

ตำราพิชัยสงครามซุนวู - บทที่ ๓ นโยบายศึก

บทที่ ๓ นโยบายศึก

๑. SUNTZU กล่าวไว้

กฎของสงครามโดยทั่วไป

สยบประเทศข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นโยบายหลัก

ใช้กำลังทางทหารเข้าตีประเทศข้าศึกแตกจึงสยบประเทศข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง

สยบกองทัพข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นโยบายหลัก

ใช้กำลังทางทหารเข้าตีกองทัพข้าศึกแตกจึงสยบกองทัพข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง

สยบหน่วยทหารข้าศึกไม่เสียเลือดเนื้อเป็นโยบายหลัก

ใช้กำลังทางทหารเข้าตีหน่วยทหารข้าศึกแตกจึงสยบหน่วยทหารข้าศึกได้เป็นนโยบายรอง

" รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งยังมิใช่ยอด สยบข้าศึกได้ไม่ต้องรบ เป็นยอดนักรบ"

๒. เพราะฉะนั้นสุดยอดของการสงครามก็คือ เข้าโจมตีแผนลับข้าศึกให้แตก จากนั้นตีความสามัคคีข้าศึก ตีสัมพันธไมตรีของกลุ่มพันธมิตรข้าศึกให้แตก สุดท้ายหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วจึงใช้กำลังทางทหารเข้าตีกำลังทหารข้าศึก สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือการเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก การเข้าตีดังกล่าวจะเป็นเฉพาะเมื่อไม่มีหนทางอื่นแล้ว และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้วเท่านั้น

การเข้าตีป้อมปราการที่มั่นที่เข้มแข็งของข้าศึก ต้องใช้เวลาเตรียมการนาน และต้องพร้อมจริงๆ จึงทำได้ ซึ่งในระหว่างเตรียมการหากแม่ทัพนายกองไม่สามารถระงับความเกรียวกราดได้ยกกำลังเข้าทำการรบแตกหักก่อนที่การเตรียมการจะพร้อม ทหาร ๑ ใน ๓ จะต้องตาย แม้กระนั้นป้อมปราการที่มั่นของข้าศึกก็จะยังไม่แตก นี้คือผลเสียของการโจมตีป้อมปราการที่มั่นของข้าศึก

นักรบผู้ชำนาญมิได้ใช้การต่อสู้เพื่อสยบข้าศึก ป้อมปราการที่มั่นข้าศึกแตกก็มิใช่ด้วยการโจมตีตรงหน้า ประเทศข้าศึกต้องพินาศลงก็มิใช่ด้วยศึกสงครามยืดเยื้อ ใช้วิธีชนะโลก ชนะโดยไม่เสียเลือดเนื้อ ด้วยเหตุนี้ ทหารหาญก็ไม่เหนื่อยอ่อน ผลประโยชน์ที่ได้รับย่อมเป็นผลประโยชน์สูงสุด

"นี่คือกฎของนโยบายในการทำศึกสงคราม"

๓. กฎของสงครามโดยทั่วไปเมื่อมีกำลัง ๑๐ เท่าเข้าโอบล้อม เมื่อมีกำลัง ๕ เท่าเปิดเกมรุก เมื่อเท่ากันให้สู้ ถ้าน้อยกว่าให้ถอย ถ้ากำลังปะทะกันไม่ได้ให้หลบซ่อน โดยปกติกำลังน้อยกว่าปะทะตรงหน้ากับกำลังที่มากกว่าย่อมทำไม่ได้เป็นทางปกติ กำลังที่น้อยนิดคิดแต่จะใช้ความห้าวหาญ รังแต่จะถูกจับเป็นเชลยของกำลังที่มากกว่าเท่านั้น

๔. โดยทั่วไป แม่ทัพมีหน้าที่ช่วยเหลือชาติ ถ้าหน้าที่นั้นสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับผู้นำประเทศ ชาตินั้นต้องเข้มแข็งแน่นอน ถ้าหน้าที่นั้นขัดแย้งกับผู้นำประเทศ ชาตินั้นต้องอ่อนแอแน่นอนฉะนั้น

สิ่งที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับการศึกสำหรับผู้นำประเทศมี ๓ ประการ ได้แก่ :-

- ไม่รู้ว่าไม่ควรใช้กำลังทหาร สั่งให้ใช้กำลังทหาร ไม่รู้ว่าไม่ควรถอย สั่งให้ถอย

- ไม่รู้เรื่องภายในกองทัพ แต่เข้ามาปกครองกองทัพร่วมกับแม่ทัพ

- ไม่เข้าใจวิธีใช้กำลังทหาร แต่เข้ามาบังคับบัญชาทหาร

เมื่อใดที่ทหารอยู่ในความหลง ความงงงวยแปลกใจสงสัย ต่างชาติจะยกทัพเข้ามาและชัยชนะของกองทัพที่สับสนก็จะจากหายไป

๕. ฉะนั้น มี ๕ สิ่งที่ต้องรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับชัยชนะ ได้แก่ :-

- เมื่อไรควรรบเมื่อไรไม่ควรรบ ระมัดระวังผลได้ผลเสียรอบคอบ .... ชนะ

- เข้าใจการใช้กำลังใหญ่ กำลังเล็ก นอกแบบในแบบ .... ชนะ

- ประสานจิตใจคนทุกชั้นได้ .... ชนะ

- เตรียมการดีปะทะที่ประมาท .... ชนะ

- แม่ทัพนายกองมีความสามารถ ผู้นำประเทศไม่แทรกแซงกิจการภายในกองทัพ .... ชนะ

๕ ประการนี้เป็นวิธีเข้าใจชัยชนะ ดังนั้น "เมื่อ รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งปราศจากอันตรายรู้สถานการณ์ฝ่ายเขา ไม่รู้ฝ่ายเรา แพ้บ้างชนะบ้างไม่รู้เขา ไม่รู้เรา กล่าวได้ว่ารบทุกครั้งรังแต่จะมีอันตราย"

Chapter Three: Planning Attacks

Sun-tzu said:

Generally in warfare, keeping a nation intact is best, destroying a nation second best;
keeping an army intact is best, destroying an army second best;
keeping a battalion intact is best, destroying a battalion second best;
keeping a company intact is best, destroying a company second best;
keeping a squad intact is best, destroying a squad second best.

Therefore, to gain a hundred victories in a hundred battles is not the highest excellence;
to subjugate the enemy's army without doing battle is the highest of excellence
.

Therefore, the best warfare strategy is to attack the enemy's plans, next is to attack alliances, next is to attack the army, and the worst is to attack a walled city.

Laying siege to a city is only done when other options are not available.
To build large protective shields, armored wagons, and make ready the necessary arms and equipment will require at least three months.
To build earthen mounds against the walls will require another three months.
If the general cannot control his temper and sends troops to swarm the walls, one third of them will be killed, and the city will still not be taken.
This is the kind of calamity when laying siege to a walled city.

Therefore, one who is skilled in warfare principles subdues the enemy without doing battle, takes the enemy's walled city without attacking, and overthrows the enemy quickly, without protracted warfare.

His aim must be to take All-Under-Heaven intact.
Therefore, weapons will not be blunted, and gains will be intact.
These are the principles of planning attacks.
Generally in warfare:
If ten times the enemy's strength, surround them;
if five times, attack them;
if double, divide them;
if equal, be able to fight them;
if fewer, be able to evade them;
if weaker, be able to avoid them.

Therefore, a smaller army that is inflexible will be captured by a larger one.
A general is the safeguard of the nation.
When this support is in place, the nation will certainly be strong.
When this support is not in place, the nation will certainly not be strong.
There are three ways the ruler can bring difficulty to the army:
To order an advance when not realizing the army is in no position to advance, or to order a withdrawal when not realizing the army is in no position to withdraw.
This is called entangling the army.
By not knowing the army's matters, and administering the army the same as administering civil matters, the officers and troops will be confused.
By not knowing the army's calculations, and taking command of the army, the officers and troops will be hesitant.
When the army is confused and hesitant, the neighboring rulers will take advantage.
This is called a confused and hesitant army leading another to victory.

Therefore, there are five factors of knowing who will win:
- One who knows when he can fight, and when he cannot fight, will be victorious;
- one who knows how to use both large and small forces will be victorious;
- one who knows how to unite upper and lower ranks in purpose will be victorious;
- one who is prepared and waits for the unprepared will be victorious;
- one whose general is able and is not interfered by the ruler will be victorious.
These five factors are the way to know who will win.

Therefore I say:
One who knows the enemy and knows himself will not be in danger in a hundred battles.
One who does not know the enemy but knows himself will sometimes win, sometimes lose.
One who does not know the enemy and does not know himself will be in danger in every battle.

ปรัชญาเมิ่งจื่อ (6)

เมิ่งจื่อกล่าวว่า "เมตตาธรรมของผู้สร้างลูกธนูหรือไม่อาจสู้คนจัดทำเสื้อเกราะ ? ผู้สร้างลูกธนูเกรงว่าลูกธนูไม่แหลมคมพอที่จะทำร้ายคน ส่วนผู้จัดทำเสื้อเกราะเกรงว่าเสื้อเกราะไม่แข็งแกร่งเพียงพอ เป็นเหตุให้ผู้คนถูกทำร้าย ระหว่างนายแพทย์กับคนต่อโลงก็เป็นเช่นเดียวกัน ดังนั้น การเลือกงานอาชีพจึงควรจะพิจารณาไตร่ตรองโดยรอบคอบ"

ดังคำกล่าวของขงจื่อที่ว่า "(คนเรา)อาศัยในท่ามกลางความเมตตาอารีย่อมเป็นสิ่งอันงาม(ควร) หากเลือกที่จะไม่อยู่ในที่อันงาม(ควร)แล้ว จะ(ถือว่า)มีปัญญาได้อย่างไร?"

ความมีเมตตา คือบรรดาศักดิ์อันทรงเกียรติแห่งฟ้า เป็นแหล่งพักพิงอันสถิตสถาพรยิ่งของมนุษย์ ไม่มีผู้ใดสามารถกางกั้นความมีเมตตาจิต หากไม่เลือกอยู่ในที่อันควรแล้ว นั่นคือปัญญาไม่กระจ่างแจ่มจิต คนที่ไร้เมตตาไร้ปัญญา ไร้จรรยาไร้คุณธรรม เพียงคู่ควรกับการเป็นทาสรับใช้ผู้อื่น ความรู้สึกอัปยศอดสูต่อการเป็นทาสรับใช้ เสมือนหนึ่งผู้สร้างคันธนูที่ละอายต่อการสร้างคันธนู และผู้สร้างลูกธนูที่ละอายต่อการสร้างลูกธนู หากรู้สึกละอายใจ มิสู้(หันมา)ปฏิบัติตนด้วยเมตตา ผู้มีเมตตาธรรมเป็นเช่นดั่งมือธนู ที่ต้องจัดระเบียบร่างกายของตนเองก่อนจะปล่อยลูกธนูออกไป หากยิงไม่ถูกเป้า ก็ไม่กล่าวโทษผู้ที่ได้ชัยชนะเหนือตน เพียงหันกลับมาพิจารณาหาเหตุอันเกิดแต่ตนเท่านั้น